|
|
|
|
ชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เรียกต้นไม้ที่ให้ยางว่า
คาอุท์ชุค [Caoutchouc] แปลว่าต้นไม้ ร้องไห้ จนถึงปีพศ. 2313 (1770)
โจเซฟ พริสลี่จึงพบว่ายางสามารถลบรอยดำของดินสอได้โดยที่กระดาษไม่เสีย
จึงเรียกยางว่ายางลบหรือตัวลบ [Rubber]ซึ่งเป็นคำเรียกยาง เฉพาะในอังกฤษและฮอลแลนด์เท่านั้น
ส่วนใน ประเทศยุโรปอื่นๆ ในสมัยนั้น ล้วนเรียกยางว่า คาอุท์ชุก ทั้งสิ้น
|
|
 |
จนถึงสมัยที่โลกได้มีการปลูกยางกันมากในประเทศแถบ
อเมริกาใต้นั้น จึงได้ค้นพบว่า พันธุ์ยางที่มีคุณภาพดีที่สุด คือยางพันธุ์
Hevea Brasiliensis ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าพันธุ์ Hevea ธรรมดามาก
จึงมีการปลูกและซื้อขายยาง พันธุ์ดังกล่าวกันมาก และศูนย์กลางของการซื้อขายยาง
ก็ อยู่ที่เมืองท่าชื่อ พารา [Para] บนฝั่งแม่น้ำอเมซอน ประเทศบราซิล
ด้วยเหตุดังกล่าว ยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ยางพารา และเป็นชื่อที่ใช้ เรียกกันแพร่หลาย |
|
|
|
บิดายางพาราไทยกับกำเนิดสวนยาง |
ความร่ำรวยในอาชีพด้านการเกษตรนั้น
คือ ความร่ำรวยของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป และนั่นก็คือความมั่นคงของชาติอันเป็นส่วนรวม
ข้อความข้างต้นนี้ เป็นคำกล่าวของ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี
สมุหเทศาภิบาล มณฑล ภูเก็ต นักปกครองผู้มองการณ์ไกล ที่มี ความคิดริเริ่มในทางทำนุบำรุงบ้านเมืองความเป็นอยู่ของราษฎรตลอดจนเพียรพยายามที่จะสร้างงานด้านการเกษตรให้กับประชาชนทุกเวลา
ท่านจะต้องนำเอาวิธีการใหม่ที่ได้พบเห็นมาแนะนำและ ส่งเสริมให้ราษฎรยึดถือไปปฏิบัติ
ทุกครั้งที่มีโอกาสเดินทางไปดูงานในต่างประเทศ เช่น เมื่อไปดูงานประเทศชวากลับมา
ก็ได้แนวความคิดที่จะใช้ประสานประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนโดยตรงทั้งในด้านการเกษตรกร
ผู้ผลิต และด้านความสะดวกในการซื้อหาของผู้บริโภค สิ่งนั้นคือ "ตลาดนัด"
โดยประกาศให้ราษฎรพ่อค้าแม่ค้าต่างตำบล นำสินค้าในท้องถิ่น มาจำหน่ายและแลกเปลี่ยนกัน
ที่ตลาดนัดซึ่งได้หมุนเวียนสับเปลี่ยนทั่วทุกตำบลเป็นผลให้ผู้คนต่างท้องถิ่น
ได้ไปมาหาสู่ต่อกันมากขึ้น |
 |
ยางพาราพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
ที่ประเทศไทยผลิตส่งออกตลาดโลกเป็นอันดับ 3 รองลงมาจากอินโดนีเซีย
และมาเลเซีย นั้นก็เป็นผลงานชิ้นหนึ่งจากความริเริ่ม ความพยายาม
และ ความตั้งใจจริงของพระยารัษฎา ฯ เมื่อ 80 ปีที่แล้วมาอีกเช่นกัน
พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี มหาอำมาตย์โท พระยารัษฎาประดิษฐ์
มหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต มีชื่อเดิมว่า คอซิมบี้ ณ
ระนอง เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี (คอซู้เจียง)
ต้นสกุล ณระนอง ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองระนอง คนแรกมารดาชื่อ
กิ้ม เกิดที่จังหวัดระนอง เมื่อ พ.ศ.2400 เมื่ออายุได้ 12 ขวบ
คือพ.ศ.2412 ได้ติดตามบิดา ไปประเทศจีนในโอกาสที่บิดาไปพักผ่อนและทำบุญให้กับบรรพบุรุษ
ณ มาตุภูมิ จึงมี โอกาสศึกษาเล่าเรียน ณ จังหวัดเจียงจิวบ้าง แล้วกลับมาอยู่จังหวัดระนองช่วยบิดา
ทำงานตามเดิม พ.ศ.2425 หลังจากบิดาถึงอนิจกรรม พระยาดำรงสุจริต
มหิศรภักดี (คอซิมก้อง ณ ระนอง) ผู้เป็นพี่ชาย ได้นำถวายตัวเป็น
มหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่พระอัสดงคตทิศรักษา
ตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ถึงเมืองระนอง กระบุรี ทรงเห็นว่าพระอัสดงคตทิศรักษา
(คอซิมบี้ ณ ระนอง) มีความสามารถจัดการปกครองเป็นที่พอพระหฤทัย
จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายไปดำรงตำแห่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
ซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่ควนธานีแทนพระยาตรังภูมิภิบาล (เอี่ยม ณ
นคร) ซึ่งทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
พร้อมกับเลื่อนยศจากพระอัสดงคตทิศรักษา เป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี |
|
ในเวลาต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรังเป็นสมุหเทศาภิบาล
มณฑลภูเก็ตมีขอบข่ายการปกครอง 7 จังหวัด คือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง
จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตะกั่วป่า จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล
ส่วนผู้ที่มาดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังแทน คือ พระสถล สถานพิทักษ์
(ยู่เกี๊ยด ณ ระนอง) บุตรบุญธรรมของพระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี (คอซิมก้อง
ณ ระนอง) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอีกผู้หนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยนั่นเอง
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ถึงแก่อนิจกรรม ที่บ้าน จักรพงษ์ ปีนัง เมื่อวันที่
10 เมษายน 2456 มีอายุได้ 56 ปี หลังจากถูกหมอจันทร์ บริบาล แพทย์ประจำจังหวัดลอบยิงด้วยปืนพก
(เบรานิง) ที่สะพานเจ้าฟ้า ท่าเรือกันตัง ได้ 45 วัน |
|